บทความ

การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ

การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ

การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ

สมรรถนะเป็นสิ่งที่บ่งบอกความสามารถของผู้เรียนในการปฏิบัติงานให้บรรลุ หรือประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ทักษะ เจตคติ รวมทั้ง คุณลักษณะที่อยู่ภายในของบุคคลนั้น ๆ ทั้งนี้สมรรถนะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายชัดเจน โดยมีองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ คือ เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ (Objective) การจัดการเรียนรู้ (Learning) และการวัดและประเมินผล (Evaluation) ซึ่งในบริบทของการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะสามารถเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนได้ดังแผนภาพต่อไปนี้

การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ

จากองค์ประกอบข้างต้น 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน คือ

  1. เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิด
    ความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการเรียนรู้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลง
    พฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสติปัญญา (พุทธิพิสัย คือ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านเจตคติ
    จิตพิสัย) คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ทักษะพิสัย) คือ การปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย ดังนั้น ในการสอนจึงต้องตั้งเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มิไช่เพียงด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้ จึงจะถือว่าผู้เรียนเกิดสมรรถนะ
  2. การจัดการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่นั้นการสอนเป็นสำคัญซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น
  3. การวัดและประเมินผล เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนบรรลุผลมากน้อยเพียงใด ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางสติปัญญา และทางร่างกายซึ่งมีความแตกต่งกัน การประเมินผลการเรียนจะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษา และวิธีการเรียนการสอน กล่าวคือ ผู้สอนมักจะตั้งความหวังก่อนสอนว่าต้องการจะให้ผู้เรียนรู้อะไร เกิดพฤติกรรมอะไร หรือทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความหวังนี้เรียกว่าจุดมุ่งหมายทางการศึกษา โดยมี 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยวิธีการวัดและประเมินผลจึงต้องเกี่ยวพันกับจุดมุ่งหมายการศึกษา

จุดมุ่งหมายของการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถะของผู้เรียนอย่างถ่องแท้ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และออกแบบการวัดและประเมินผล โดยมีรายละเอียดแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้

สมรรถนะของผู้เรียน

สมรรถนะของผู้เรียน หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะความสามารถเจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนสามารถดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
โดยองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operationand Development หรือ OECD ได้อธิบายการเกิดสมรรถนะด้วยรูปภาพ ดังนี้

การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ

จากความหมายของสมรรถนะและจากแผนภาพของ OECD องค์ประกอบสำคัญของสมรรถนะประกอบด้วย

  • ความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่บุคคลรู้ ในด้านความรู้เฉพาะศาสตร์ เฉพาะวิชา (Disciplinary knowledge) ความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary knowledge) และความรู้ด้านการปฏิบัติในการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ (Practical knowledge)
  • ทักษะ (skills) เป็นการทำบางสิ่งให้ดี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคนิคในเวลาที่เหมาะสม ทั้งที่เป็นทักษะทางปัญญาและอภิปัญญา (Cognitive and meta-cognitive skills) ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม (Social and emotional skills) และทักษะทางร่างกายและการปฏิบัติ
  • เจตคติ (Attitude) เจตคติเป็นสิ่งที่เกิดจากความเชื่อและค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยชอบที่จะตอบสนองต่อบางสิ่งหรือบางคนในเชิงบวกหรือเชิงลบ และเจตคติอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์บริบทเฉพาะ
  • ค่านิยม (Values) เป็นหลักชี้นำที่สนับสนุนสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่ามีความสำคัญในการตัดสินใจในทุกด้านของชีวิตส่วนตัวและในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งที่บุคคลให้ความสำคัญในการตัดสินและสิ่งที่บุคคลแสวงหาในการปรับปรุงให้ดีขึ้น

แผนภาพของ OECD สามารถอธิบายการเกิดสมรรถนะได้ว่า สมรรถนะเกิดจากการที่ผู้เรียนได้ประมวลผสมผสานความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่านิยมในการลงมือปฏิบัติ (Action) ในงานหรือสถานการณ์ ที่เรียกว่า การประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้เรียนจะแสดงสมรรถนะออกมาเป็นพฤติกรรมและการกระทำที่สามารถสังเกตได้ จุดที่เป็นคานงัดสำคัญ คือการประยุกต์ใช้ เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่หลากหลายและแตกต่างจากการเรียนรู้และฝึกฝนในห้องเรียนด้วยตนเองมักจะเชื่อมโยงกับการดำรงชีวิตจริงและสังคมที่เป็นทั้งสถานการณ์จริง หรือใกล้เคียงความจริง

สมรรถนะของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ประกอบด้วย 5 สมรรถนะดังนี้

การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ
การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไรให้มีคุณภาพ

สมรรถนะที่ 1 ความสามารถในการสื่อสาร

ความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเอง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้ง การเจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆการเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

สมรรถนะที่ 2 ความสามารถในการคิด

ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเอง และสังคมได้อย่างเหมาะสม

สมรรถนะที่ 3 ความสามารถในการแก้ปัญหา

ความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรม และข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

สมรรถนะที่ 4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

ความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม ด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

สมรรถนะที่ 5 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การท างาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม

แหล่งที่มาของข้อมูล : สํานักทดสอบทางการศึกษา สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button

โปรดปิดตัวจำกัดโฆษณา

เพื่อการรับชมเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ