เอกสาร

ดาวน์โหลด คู่มือการบันทึกทะเบียนคุมทรัพย์สินและบัญชีวัสดุสำหรับสถานศึกษา

ดาวน์โหลด คู่มือการบันทึกทะเบียนคุมทรัพย์สินและบัญชีวัสดุสำหรับสถานศึกษา

ตามที่กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้หลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ 2 ตั้งแต่ปงบประมาณ พ.ศ. 2546 ไดยกำหนดหลักการและน ไบายบัญชีเกี่ยวกับรายการที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดทำงบการเงิน ได้แก่ สินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนทุน รายได้ และค่าใช้ง่าย ซึ่งสินทรัพย์จะต้องแสดงคำเสื่อมราคาสะสมเพื่อลดส่วนทุนของสินทรัพย์ดามอายุการใช้งาน และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดให้สินทรัพย์ที่ซื้อมา ได้แก่ วัสดุ ครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างต้องมีการควบคุมรวมทั้งคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดและสำนักงบประมาณได้แจ้งแนวทางกรพิจารณาสิ่งของที่จัดเป็นวัสดุ และครุภัณฑ์ ดามหนังสือสำนักงบประมาณที่ นร 0704/ 337 เรื่องแนวทางการพิจาณาสิ่งของที่จัดเป็นวัสดุและครูภัณฑ์ตามหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ เพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติ

ดาวน์โหลด คู่มือการบันทึกทะเบียนคุมทรัพย์สินและบัญชีวัสดุสำหรับสถานศึกษา

หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณสำหรับรายจ่ายค่วัสดุ และรายจ่ายครุภัณฑ์

ตามหนังสือเวียน สำนักงบประมาณ ที่ นร 0704/ว37 ลงวันที่ 6 มกราคม 2559

  1. สิ่งของที่จัดเป็นวัสดุ ให้แบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
    ก. ประเภทวัสดุคงทน ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงคนแต่ตามปกติมีอายุการใช้
    งานไม่ยืนนาน หรือเมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม
    หรือซ่อมแซมแล้วไม่คุ้มค่า
    ข. ประเภทวัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ สิ่งของที่ โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลือง
    หมดไป แปรสภาพ หรือเปลี่ยนสภาพ ไปในระยะเวลาอันสั้นหรือไม่คงสภาพเดิม
    ค. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่ สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบหรือ
    อะไหล่สำหรับการซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพข์สินให้กลับคืนสภาพดังเดิมที่มีลักษณะเป็นการซ่อมบำรุงปกติ
    หรือค่าซ่อมกลาง
  2. ครุภัณฑ์ ได้แก่ สิ่งของที่ โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยืนนาน เมื่อชำรุด
    เสียหายแล้วสามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม
    3.เพื่อประโยชน์ในการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ สำนักงบประมาณอาจกำหนดให้
    ถือว่าสิ่งของรายการใดเป็นวัสดุหรือครุภัณฑ์ขึ้นเป็นการเฉพาะตามความจำเป็นและเหมาะสม
  3. หากได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายการค่าวัสดุและรายการค่าครุภัณฑ์ไม่
    สอดคล้องกับงบรายจ่ายตามหลักการจำแนกประเภทราขายตามงบประมาณที่ปรับปรุงใหม่ ให้ดำเนินการ
    โอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณสำหรับรายจ่ยค่วัสดุและรายจ่ายค่ครุภัณฑ์ เพื่อให้ถูกต้องตาม
    งบรายจ่ายที่กำหนดไ ว้ในหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณก่อนลงนามในสัญญาจัดหาวัสดุ
    หรือครุภัณฑ์ โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ

การจัดทำทะเบียน คุมทรัพย์สิน

  1. อาคารหรือสิ่งก่อสร้างให้บันทึกทะเบียน คุมทรัพย์สินและคำนวณค่าเสื่อมราคาทุกรายการ/ชุด/กลุ่ม
    (1 แผ่นต่อ 1 รายการ/ชุด/กลุ่ม ยกเว้นโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน 1 แผ่นต่อ 10 ชุด/หน่วย)
  2. ครุภัณฑ์ ได้แก่ สิ่งของที่ โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยืนนาน เมื่อชำรุดเสียหาย
    แล้ว สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม
  3. ทรัพย์สิน (ครุภัณฑ์หรือวัสดุหรืออุปกรณ์ต่างๆ) ที่ซื้อหรือได้มาที่มีลักษณะคงทนถาวร อายุการใช้
    งานตั้งแต่ ! ปีขึ้นไป แต่ราคาต่อชุด/ต่อหน่วยต่อกลุ่ม มูลค่าไม่ถึง 5,000 บาท ให้บันทึกทะเบียนคุม
    ทรัพย์สินโดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมราคา
  4. กรณีซ่อมแซมหรือปรับปรุงอาคาร/สิ่งก่อสร้างครุภัณฑ์/วัสดุคงทนถาวร/อุปกรณ์ต่างๆ ให้บันทึก
    ประวัติการซ่อมบำรุงรักษาทรัพย์สินค้านหลังทะเบียน คุมทรัพย์สินทุกครั้ง
    ร. การคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพข์สินเพื่อหามูลค่าสุทธิ ให้คำนวณ ณ วันสิ้นปีงบประมาณของทุกปี
    (30 กันยายนของทุกปี)
  5. การคำนวณค่าเสื่อมราคา ให้ใช้อายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพตามตารางที่ สพฐ. กำหนด
  6. การนับระยะเวลาการใช้งาน
    ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างวันที่ 1-15 ของเดือนให้นับเป็น เดือนที่ 1
    ทรัพย์สินที่ได้มาตั้งแต่วันที่ 16 เป็นต้นไปให้นับเดือนถัดไปเป็น 1 เดือ
  7. มูลค่าของทรัพย์สินเมื่อครบกำหนดอายุการใช้งาน (ปีสุดท้าย จะมีมูลค่า สุทธิ = หากยังใช้
    ประโยชน์ได้ หรือยังไม่ได้จำหน่ายตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ
    บริหารพัสดุกาครัฐ พ.ศ. 2560 ให้คงมูลค่สุทธิของทรัพย์สินนั้นในทะเบียนคุมทรัพย์สิน = 1 บาท
ดาวน์โหลด คู่มือการบันทึกทะเบียนคุมทรัพย์สินและบัญชีวัสดุสำหรับสถานศึกษา

ดาวน์โหลดไฟล์

ขอบคุณที่มา :: สพป.ปน1 : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต1 (pattani1.go.th)

Related Articles

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button

โปรดปิดตัวจำกัดโฆษณา

เพื่อการรับชมเว็บไซต์ที่มีประสิทธิภาพ